วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เข้าหารือภายหลังกฎหมายลูก 2 ฉบับประกาศใช้ จะขอเวลา 45 วันเตรียมการเลือกตั้งก่อนยุบสภาฯ ได้หรือไม่ ว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น กกต.คิดถึงความสะดวก แต่บางครั้งการยุบสภาฯ เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่จะยึดเอาความสะดวกไม่ได้
“เอาเป็นว่าต้องทำให้เกิดการเลือกตั้งให้ได้ เวลา 45 วันสามารถทำได้สบายๆ แต่บางทีก็เอาสบายไม่ได้ แต่ที่แน่ๆ จากการหารือกับ กกต. ได้ความว่าสิ่งที่เป็นปัญหาคือ กกต.ต้องแบ่งเขตเลือกตั้งจากเดิมที่ 350 เขต เพิ่มเป็น 400 เขต และยังมีประชากรที่เพิ่มขึ้น และบางจังหวัดก็ลดลง ทำให้กระทบกับจำนวน ส.ส.”
รองนายกฯ วิษณุ กล่าวต่อว่า การแบ่งเขต หาก กกต.แบ่งตามใจชอบวันเดียวก็เสร็จ แต่กฎหมายกำหนดการแบ่งเขตจะต้องส่งให้แต่ละจังหวัดเพื่อให้ กกต. จังหวัดร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งพรรคการเมืองในจังหวัดนั้นๆ ด้วย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน คือเดือนกุมภาพันธ์ทั้งเดือน ที่มี 28 วัน แต่อาจจะทำให้เร็วกว่านั้น หากแต่ละจังหวัดรายงานกลับมาเร็วไม่มีปัญหา อาจจะใช้ 25 วันก็ได้ หลังจากนั้นจะยุบสภาฯ เมื่อไหร่ก็ได้ แต่จะให้ยืดไปก็จะไปครบสมัยวันปิดสมัยประชุมสภาฯ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์พอดี แต่จะให้เร็วอย่างที่หลายคนนึกเพราะเห็นว่ากฎหมายลูกประกาศแล้วก็ควรยุบได้แล้วนั้น หรือเห็นว่ารัฐบาลเงียบเป็นการยื้อเวลา ไม่ยอมรีบยุบต้องบอกเลยว่า กกต.ชี้แจงว่ายังจัดการเลือกตั้งไม่ได้เพราะยังแบ่งเขตยังไม่เสร็จ
วิษณุ กล่าวว่า “ที่ตนชี้แจงต้องการบอกประชาชนทั้งหมด และพรรคการเมืองต่างๆ ให้รับทราบและจะแจ้งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบในวันที่ 31 มกราคมนี้”
ผู้สื่อข่าวถามว่าแปลว่าหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์สามารถยุบสภาฯ ได้หรือไม่ วิษณุ กล่าวว่า เอาเป็นว่าเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะถึงอย่างไรก็ไม่ถึง 45 วัน และตนได้ย้ำกับเลขาธิการ กกต.ไปว่า บางครั้งการเมืองไม่สามารถเอาสบายได้ เพราะการยุบสภาฯ เป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าจำเป็นต้องยุบในวันนี้ และบอกว่ายังไม่ครบเวลา 45 วัน ให้รอไปก่อน ก็คงรอไม่ได้ แต่หากรอได้ก็ไม่ยุบ อยู่ไปจนสภาฯ ครบวาระ ขึ้นอยู่กับเหตุที่เกิดขึ้น แต่ทั้งหมดไม่สามารถยุบสภาฯ ก่อนที่จะรู้เขตเลือกตั้งได้
“เพราะยุบสภาฯ ปั๊บเครื่องจะเดินทันที ต้องประกาศวันเลือกตั้ง แต่เวลาประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ ที่เสนอโดยรัฐบาลจะไม่เห็นวันเลือกตั้ง เพราะวันเลือกตั้ง กกต. จะกำหนด ไม่ใช่รัฐบาล และจะประกาศวันสมัครรับเลือกตั้งก็ต้องรู้วันเลือกตั้งก่อน หากการไปแบ่งเขตแบบซิกแซก บ้านอยู่ซอยเดียวกัน แต่ไปแบ่งแยกเขต เขาเรียกว่าแบ่งเขตตามใจชอบ หรือ แบบกิ้งก่า แขนไปทางขาไปทาง เพื่อชิงความได้เปรียบ” รองนายกฯ วิษณุ กล่าว
เมื่อถามถึงเสียงวิจารณ์รัฐบาลยื้อเวลาในการจัดการเลือกตั้ง รองนายกฯ วิษณุ กล่าวว่า “ไม่ได้ยื้อ ไม่ได้อะไรทั้งนั้น ทุกอย่างเป็นไปตามหลัก ซึ่ง กกต. เป็นองค์กรอิสระที่ต้องไปกำหนด”
“เอาเป็นว่าต้องทำให้เกิดการเลือกตั้งให้ได้ เวลา 45 วันสามารถทำได้สบายๆ แต่บางทีก็เอาสบายไม่ได้ แต่ที่แน่ๆ จากการหารือกับ กกต. ได้ความว่าสิ่งที่เป็นปัญหาคือ กกต.ต้องแบ่งเขตเลือกตั้งจากเดิมที่ 350 เขต เพิ่มเป็น 400 เขต และยังมีประชากรที่เพิ่มขึ้น และบางจังหวัดก็ลดลง ทำให้กระทบกับจำนวน ส.ส.”
รองนายกฯ วิษณุ กล่าวต่อว่า การแบ่งเขต หาก กกต.แบ่งตามใจชอบวันเดียวก็เสร็จ แต่กฎหมายกำหนดการแบ่งเขตจะต้องส่งให้แต่ละจังหวัดเพื่อให้ กกต. จังหวัดร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งพรรคการเมืองในจังหวัดนั้นๆ ด้วย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน คือเดือนกุมภาพันธ์ทั้งเดือน ที่มี 28 วัน แต่อาจจะทำให้เร็วกว่านั้น หากแต่ละจังหวัดรายงานกลับมาเร็วไม่มีปัญหา อาจจะใช้ 25 วันก็ได้ หลังจากนั้นจะยุบสภาฯ เมื่อไหร่ก็ได้ แต่จะให้ยืดไปก็จะไปครบสมัยวันปิดสมัยประชุมสภาฯ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์พอดี แต่จะให้เร็วอย่างที่หลายคนนึกเพราะเห็นว่ากฎหมายลูกประกาศแล้วก็ควรยุบได้แล้วนั้น หรือเห็นว่ารัฐบาลเงียบเป็นการยื้อเวลา ไม่ยอมรีบยุบต้องบอกเลยว่า กกต.ชี้แจงว่ายังจัดการเลือกตั้งไม่ได้เพราะยังแบ่งเขตยังไม่เสร็จ
วิษณุ กล่าวว่า “ที่ตนชี้แจงต้องการบอกประชาชนทั้งหมด และพรรคการเมืองต่างๆ ให้รับทราบและจะแจ้งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบในวันที่ 31 มกราคมนี้”
ผู้สื่อข่าวถามว่าแปลว่าหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์สามารถยุบสภาฯ ได้หรือไม่ วิษณุ กล่าวว่า เอาเป็นว่าเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะถึงอย่างไรก็ไม่ถึง 45 วัน และตนได้ย้ำกับเลขาธิการ กกต.ไปว่า บางครั้งการเมืองไม่สามารถเอาสบายได้ เพราะการยุบสภาฯ เป็นวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าจำเป็นต้องยุบในวันนี้ และบอกว่ายังไม่ครบเวลา 45 วัน ให้รอไปก่อน ก็คงรอไม่ได้ แต่หากรอได้ก็ไม่ยุบ อยู่ไปจนสภาฯ ครบวาระ ขึ้นอยู่กับเหตุที่เกิดขึ้น แต่ทั้งหมดไม่สามารถยุบสภาฯ ก่อนที่จะรู้เขตเลือกตั้งได้
“เพราะยุบสภาฯ ปั๊บเครื่องจะเดินทันที ต้องประกาศวันเลือกตั้ง แต่เวลาประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ ที่เสนอโดยรัฐบาลจะไม่เห็นวันเลือกตั้ง เพราะวันเลือกตั้ง กกต. จะกำหนด ไม่ใช่รัฐบาล และจะประกาศวันสมัครรับเลือกตั้งก็ต้องรู้วันเลือกตั้งก่อน หากการไปแบ่งเขตแบบซิกแซก บ้านอยู่ซอยเดียวกัน แต่ไปแบ่งแยกเขต เขาเรียกว่าแบ่งเขตตามใจชอบ หรือ แบบกิ้งก่า แขนไปทางขาไปทาง เพื่อชิงความได้เปรียบ” รองนายกฯ วิษณุ กล่าว
เมื่อถามถึงเสียงวิจารณ์รัฐบาลยื้อเวลาในการจัดการเลือกตั้ง รองนายกฯ วิษณุ กล่าวว่า “ไม่ได้ยื้อ ไม่ได้อะไรทั้งนั้น ทุกอย่างเป็นไปตามหลัก ซึ่ง กกต. เป็นองค์กรอิสระที่ต้องไปกำหนด”