เจาะวิสัยทัศน์ 4 พรรคการเมือง ดัน SMEs ฟื้นเศรษฐกิจไทย

SMEs-election-2023-9-political-parties-Thai-industry-BCG-SPACEBAR-Thumbnail.jpg
  • พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทยให้เป็นอุตสาหกรรมไฮเทค
  • เปลี่ยนรัฐอุปสรรค มาเป็นรัฐสนับสนุน
Share with trust
หลังจากได้นำเสนอวิสัยทัศน์การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยของพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทยไปแล้ว ทีมข่าวขอนำเสนอวิสัยทัศน์อีกทีมเศรษฐกิจ 4 พรรคการเมือง กับการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทย นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ซึ่งใน 4 พรรคการเมืองนี้ ต่างมีนโยบายที่ต้องการสนับสนุน SMEs รากฐานที่จะพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโต โดยเริ่มจาก ‘รวมไทยสร้างชาติ’ ชูการเยียวยา SMEs รักษาสภาพจ้างงาน ช่วย SMEs ประคองตัว 
ส.อ.ท.
Photo: ส.อ.ท.
สุชาติ ชมกลิ่น กรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรคการเมือง จากพรรครวมไทยสร้างชาติ ชู นโยบายดูแลภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ SMEs ที่ประสบปัญหาในช่วงโควิดที่ผ่านมา ซึ่งรัฐจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่นายจ้าง ตามจำนวนลูกจ้างสัญชาติไทย หัวละ 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นการรักษาสภาพการจ้างงาน และทำให้ SMEs ประคองตัวได้ รองรับการเปิดประเทศ โดยการช่วยเหลือครั้งนี้ ยังเป็นเหตุให้กระทรวงแรงงานและนโยบายรัฐบาล ได้รับคำชื่นชม ว่าออกมาช่วยเหลือในช่วงที่เกิดวิกฤตได้ดี  

ดังนั้น พรรครวมไทยสร้างชาติ จึงยังเดินหน้าในนโยบาย ‘ทำแล้ว-ทำต่อ’ โดยการทำต่อนั้น จะเน้นด้าน ‘การดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ’ ที่ตั้งเป้าดึงเข้าไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท รวมถึงการขยาย GDP ต่อหัวเพิ่มขึ้นอีก 20,000 บาท/คน/ปี 
ส.อ.ท.
Photo: ส.อ.ท.
ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลใหม่ควรจะทำให้อุตสาหกรรมไทยเดินหน้าต่อได้ คือ รัฐบาลต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ประกอบการ รับฟังปัญหา ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ อย่าสร้างข้อกำหนดที่มีผลต่อการกีดกันการค้า เพราะผู้ประกอบการมีความสามารถในการทำธุรกิจอยู่แล้ว รัฐบาลต้องเข้าไปหนุนให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น ไม่ออกนโยบายขัดแย้ง ซึ่งอยากให้รัฐบาลหน้าใส่ใจและเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็น SMEs เพื่อให้ผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น 

‘พลังประชารัฐ’ ชูนโยบาย 3 เร่งด่วน 8 เร่งรัด พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ผ่านกองทุนฯ 3 แสนล้าน

ส.อ.ท.
Photo: ส.อ.ท.
อุตตม สาวนายน ประธานคณะกรรมการจัดทำนโยบาย พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐทำนโยบายครบวงจร พร้อมไปสู่ภาคปฏิบัติที่ทำได้จริง ตอนนี้ไม่ใช่เวลาลองผิดลองถูก เพราะหลังโควิดซา เศรษฐกิจก็ยังไม่เข้มแข็ง ทำให้ต้องพิจารณา 2 ประเด็นเร่งด่วน คือ การหาทางเลือกให้ดีที่สุดซึ่งต้องทำได้ทันที  

โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยต้องเชื่อมโยงกับเวทีโลก แต่ยังติดข้อจำกัดโดยเฉพาะงบประมาณการเงินการคลัง พรรคพลังประชารัฐ จึงเสนอว่าเราต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจคู่ขนานใน 2 มิติหลัก คือ ผลักดันการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศ และเร่งรัดวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อรองรับความก้าวหน้าของประเทศที่ยั่งยืน สอดรับกับนโยบาย 3 เร่งด่วน 8 เร่งรัดเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจ
ส.อ.ท.
Photo: ส.อ.ท.
โดย 3 เร่งด่วน คือ การเร่งแก้หนี้ผ่านการเติมทุน, ดูแลสวัสดิการคนไทย และพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตเร่งทำที่กลุ่มปฐมวัย  

ส่วน BCG อุตฯ ต้องพิจารณาบริบทของเวทีโลกต่อความเปลี่ยนแปลง ให้ไทยมีการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ พัฒนาพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ ซึ่ง EEC จะเป็นตัวเชื่อมโยงขยายอุตฯ สู่ภาคอื่นๆ ด้วยระบบคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ที่จะสนับสนุนการสื่อสารให้เชื่อมโยงเปลี่ยนไทยเช้าสู่เศรษฐกิจสังคมดิจิทัลแท้จริง ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำผ่านกองทุนประชารัฐวงเงิน  3 แสนล้านบาท
ส.อ.ท.
Photo: ส.อ.ท.

‘ประชาธิปัตย์’ เสนอ หนุน SME วงเงิน 3 แสนล้าน เล็งคุม ก.พลังงาน ลดค่าการตลาด

ส.อ.ท.
Photo: ส.อ.ท.
เกียรติ สิทธิอมร คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ เผย นโยบายหลักของพรรค คือ ‘สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ’ โดยภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มี 16 นโยบาย ใจความสำคัญต้องการให้เศรษฐกิจฐานราก หรือประชาชน และ SMEs เข้มแข็ง ผ่านการสนับสนุนธุรกิจ SME วงเงิน 3 แสนล้านบาท ชี้ปัจจุบันมีงบประมาณกว่า 1 ล้านล้านบาท แต่ยังไม่มีการนำออกมาใช้  

ขณะที่ปัญหาต้นทุนพลังงานแพง จะเร่งแก้ใน 1 เดือน โดยจะควบคุมกระทรวงพลังงานไม่ให้ค่าการตลาด และกำไรโรงกลั่นเกิน 1 บาทต่อลิตร แก้ปัญหาเรื่องต้นทุนทางการเงินภายใน 3 เดือน ผลักดันให้ไทยเป็น R&D hub ของเอเชีย และอุตสาหกรรมอนาคตจะต้องส่งเสริมให้ไทยมีคลัสเตอร์เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ส.อ.ท.
Photo: ส.อ.ท.

‘ไทยสร้างไทย’ แนะเพิ่ม GDP กลุ่ม SMEs ตั้งเป้า 50% ใน 3 ปี

ส.อ.ท.
Photo: ส.อ.ท.
สุพันธุ์ มงคลสุธี รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ พรรคไทยสร้างไทย เผย รัฐและเอกชน ต้องจับมือกัน เพื่อรู้ว่า วันนี้เราจะแก้ปัญหาอย่างไร โดยปัจจุบันมี 4 เรื่องที่เป็นอุปสรรคในอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 

1. กฎหมาย ไทยเรามีกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจกว่า 1,400 ฉบับ ทั้งกฎระเบียน อย. และกฎหมายโรงแรม ที่กฎหมายมีการแบ่งใช้กับขนาดของโรงแรม เราจะประกาศงดใช้กฎหมายดังกล่าวชั่วคราว และใช้เวลา 5 ปีในการปรับแก้ทุกอย่างที่เป็นอุปสรรค 

2. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งปัจจุบันมี บสย. ดูแลอยู่แล้ว แต่เห็นว่าปัจจุบันต้องช่วย SMEs ค้ำประกันไม่ต่ำกว่า 60% ธุรกิจถึงอยู่รอด เพราะวันนี้ SMEs ก็ยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน จำเป็นต้องมีกองทุน SMEs อย่างจริงจัง รวมถึงเรื่องนวัตกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่ผลักดันมาตลอด  

3. การสร้างแต้มต่อให้อุตสาหกรรม ตั้งกองทุน SMEs ให้ SMEs นำเอานวัตกรรมมาใช้ให้ได้ และ BOI จะต้องหนุนคนตัวเล็กให้เข้มแข็ง และอัพขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้ 

นอกจากนี้ ยังต้องผลักดันให้เกิดคลัสเตอร์ใน EEC ต้องซัพพอร์ตกองทุน SMEs ให้รายเล็กได้เดินหน้าไปสู่ BCG ให้ได้ 

4. ต้องผลักดัน GDP ของ SME จาก 35% สู่เป้าหมาย 50% ภายใน 3 ปี ถ้าทำได้เราจะเห็นไทยมีความเข้มแข็งทั้งแผ่นดิน